วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การเพิ่มผลผลิต

                    
                           



 

          อุตสาหกรรมการผลิตในยุคแรกจะเน้นใช้แรงงานของคนเป็นหลัก โดยเริ่มต้นจากครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศ ซึ่งยังไม่มีแผนการเพิ่มผลผลิตแต่อย่างใด ทำให้คนงานทำงานโดยไม่มีความรู้ ไม่มีทักษะ และไม่มีความถนัดหรือความสามารถเฉพาะทางในงานที่ทำ ส่งผลให้ผลผลิตตกต่ำ หรือมีจำนวนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น จึงต้องมีการพัฒนากระบวนการผลิตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
       ความเป็นมาและแนวคิดเรื่องการเพิ่มผลผลิตนั้น เริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.2454 โดย เฟรดเดอริค ดับบลิว เทเลอร์ (Federick W.Taylor) ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ ได้ทําการศึกษาเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความสิ้นเปลืองวัตถุดิบ และพลังงานในกระบวนการผลิตที่มีสาเหตุมาจากการที่คนงานปฏิบัติงานไม่ตรงกับความรู้ความสามารถและความถนัด ตลอดจนขาดขวัญกําลังใจในการทํางาน รวมถึงการบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพ ทําให้ผลผลิตตกต่ำ Federick W.Taylor เน้นหลักการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ ต้องการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของพนักงานและฝ่ายบริหาร ให้มองเห็นความจำเป็นในการนําหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ในการบริหารงาน ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเวลาและการเคลื่อนไหวในการทํางานของคนงานและได้ประกาศแนวทางการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในหนังสือชื่อ  Principles of Scientific Management 
สรุปเป็นหลักการทํางานได้ 4 ประการ คือ
  พัฒนาระบบการผลิตด้วยการหาวิธีที่ดีที่สุด
   คัดเลือกและจัดคนเข้าทํางานให้เหมาะสมกับงาน
   จัดหาสิ่งจูงใจในการทำงาน
    เน้นความชำนาญเฉพาะอย่างและแบ่งงานกันทำ
        ดังนั้น Federick W.Taylor ได้ให้แนวคิดด้านปริมาณงานเอาไว้ว่า ถ้ากําหนดปริมาณงานที่เหมาะสมกับระยะเวลาที่มอบหมายก็จะส่งผลให้คนงานปฏิบัติงานได้เต็มความสามารถ ฝ่ายบริหารก็ไม่ต้องมีปัญหา เรื่องการทํางานของคนงานอีก ผลการศึกษาของ Taylor นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มผลผลิต

ความหมายของการเพิ่มผลผลิต

          การเพิ่มผลผลิต (Productivity) ได้มีผู้ให้ความหมายแตกต่างกันไป เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต การเพิ่มปริมาณผลผลิต เป็นต้น ความหมายการเพิ่มผลผลิต สามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวคิด คือ 

การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ หมายถึงอัตราส่วนระหว่างปัจจัยการผลิตที่ใช้ไป (Input) (แรงงาน เครื่องมือ วัตถุดิบ เครื่องจักร พลังงาน และอื่น ๆ)กับผลผลิต
ที่ได้จากกระบวนการผลิต (Output) (ตู้เย็น รถยนต์ การขนส่ง) คำนวณได้จาก



ารเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม   หมายถึง การที่จะหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ โดยมีความเชื่อว่าเราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ในวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้และวันพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้ ซึ่งเป็นความสำนึกในจิตใจ (Consciousness of Mind) เป็นความสามารถ หรือพลังความก้าวหน้าของมนุษย์ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นเสมอ ทั้งเรื่องของการประหยัดทรัพยากร พลังงาน และเงินตรา ที่ต้องร่วมมือปรับปรุงเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตในทุกระดับ เพื่อหาความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยโดยรวม
            สรุปว่าการเพิ่มผลผลิต (Productivity) หมายถึง กระบวนการในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้สินค้า บริการ หรืองานที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ด้วยวิธีการในการลดต้นทุน ลดการสูญเสียทุกรูปแบบ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานในองค์กร และการใช้เทคนิคการทำงานต่าง ๆ เข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน


             อุตสาหกรรมผลิตไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก หรือใหญ่ก็ตามจะพบว่า “วัตถุประสงค์การผลิต คือ การทำกำไรให้มากที่สุดโดยการยึดครองตลาดส่วนใหญ่ให้ได้และ
สามารถจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นให้ได้มากที่สุด”แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ววัตถุประสงค์
ของการผลิตองค์กรผู้ผลิตต่างๆ ควรยึดถือแนวทางจากที่ เฮนรี่ ฟอร์ด (Henry Ford) ได้เขียนหนังสือไว้ในปี ค.ศ.1962 ที่ชื่อ Today and Tomorrow หลักการคือ

          
เพื่อสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า
       เพื่อทำให้มีกำไรที่เหมาะสม

       เพื่อการใช้เงินทุนในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

       เพื่อการสร้างความพอใจให้แก่ผู้ถือหุ้น

       เพื่อการให้รางวัลตอบแทนแก่ผู้มีส่วนร่วมอย่างเสมอภาค

       เพื่อการปฏิบัติต่อผู้ส่งมอบและลูกค้าอย่างยุติธรรม

       เพื่อการเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคม







         การเพิ่มผลผลิตเป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์กรต้องพยายามทำให้การผลิตขององค์กรดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะทรัพยากรต่าง ๆ นับวันจะขาดแคลนลง หรือลดน้อยลงไปทุกวัน ดังนั้นองค์กรจึงต้องพยายามหาวิธีการเพิ่มผลผลิตในทุกวิถีทาง เพื่อที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการที่จะทำให้การผลิตสินค้าเพียพอ
กับความต้องการของลูกค้าโดยพยายามให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุดหรือไม่มีการสูญเสียใดๆ เลยในกระบวนการผลิต ซึ่งก็จะเป็นการประหยัดทรัพยากรที่มีให้ใช้ได้อย่างคุ้มค่า ดังนั้นความสำคัญของการเพิ่มผลผลิต มีดังนี้คือ
        ช่วยให้คนงานได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงวิธีการทำงานของตนเองหรือของ
หน่วยงานของตน
        ช่วยให้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาสู่กระบวนการผลิต
        ช่วยให้มีการพัฒนาและทักษะในการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น
        ช่วยให้ลูกค้าได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูก
        ช่วยทำให้คนงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
        ช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันกับคู่แข่งในด้านคุณภาพและบริการ
        ช่วยทำให้ลดต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการ
          ดังนั้นการเพิ่มผลผลิตจึงมีความสำคัญต่อองค์กรในการช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้สินค้าที่ผลิตได้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการสูญเสียต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต อีกทั้งช่วยให้คนงานมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน เป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจในการทำงาน เพราะคนงานได้มีส่วนร่วมในการทำงาน มีการเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นการเพิ่มทักษะในการทำงานและยังเป็นการพัฒนาให้คนงานมีความรู้ความสามารถความชำนาญในหน้าที่ของเขา ซึ่งผลดีก็จะตกอยู่กับองค์กรนั่นเอง







    สภาพสังคมและเศรษฐกิจของไทยปัจจุบัน เป็นสภาพที่อยู่ในภาวะวิกฤตทั้งในด้านทรัพยากรที่ลดลงอย่างมาก จากนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมามุ่งส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมใหม่ทำให้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย ทั้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ผลผลิตด้อยคุณภาพ ไม่เป็นที่พอใจของผู้บริโภค ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีความจำเป็นต้องนำการเพิ่มผลผลิตมาแก้ปัญหาและสร้างคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีดังนี้ 

    ทรัพยากรจำกัด การเพิ่มผลผลิตเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและนับวันจะน้อยลงให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสูญเสียน้อยที่สุด
 การเพิ่มผลผลิตเป็นเครื่องช่วยในการวางแผนทั้งในปัจจุบันในอนาคต เช่น การกำหนดผลิตผลในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการ เพื่อไม่ให้เกิดส่วนเกิน ซึ่งถือเป็นความสูญเปล่าของทรัพยากร
   การแข่งขันสูงขึ้น หน่วยงานหรือบริษัทต่าง ๆ จะอยู่รอดได้ต้องมีการปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอการเพิ่มผลผลิตก็เป็นแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพ ลดต้นทุน ทำให้เราสู้กับคู่แข่งขันได้

          สรุปได้ว่า การเพิ่มผลผลิตเป็นจิตสำนึก หรือเจตคติที่จะแสวงหาปรับปรุง และสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ด้วยความเชื่อมั่นว่าเราสามารถทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวันนี้ และสามารถทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้ การเพิ่มผลผลิตจึงเป็นความเพียรพยายามอย่างไม่มีที่สิ้นสุดที่จะปรับปรุงงาน หรือกิจกรรมที่ทำให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยการใช้เทคนิควิธีการใหม่ ๆ



              การเพิ่มผลผลิต (Productivity) เปนเครื่องมือสําคัญในการใชประโยชนจากทรัพยากรที่มีอยูอยางจํากัดใหเกิดประโยชน์สูงสุดการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตที่มีประสิทธิ
ภาพจะทำใหบรรลุเปาหมายของการเพิ่มผลผลิตนั่นคือมาตรฐานการครองชีพของประชาชนคนในชาติดีขึ้น ประชาชนคนในชาติอยู่ดี กินดี มีความสุข ผลที่ไดรับจากการเพิ่มผลผลิตตกอยูกับทุก ๆ คนในชาติ ดังนั้นทุก คนในชาติ ดังนั้นทุก คนในชาติ หน่วยงานและสถานประกอบการจึงมีหนาที่ที่จะตองใหความความรวมมือในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
          องค์ประกอบการเพิ่มผลผลิตที่ดีนั้น มีอยู่ 7 ประการ คือ QCDSMEE ซึ่งส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลผลิตที่ยั่งยืนและมีคุณธรรม เพราะองค์ประกอบเหล่านี้ได้สนองตอบต่อลูกค้า ต่อพนักงานและสนองตอบต่อสังคม ดังนี้คือ

 สนองตอบลูกค้าที่หน่วยงานต้องปฏิบัติ คือ ด้านคุณภาพ ด้านต้นทุน และการส่งมอบ เป็นต้น
   
สนองตอบต่อพนักงานที่หน่วยงานต้องปฏิบัติ คือ ด้านความปลอดภัย และขวัญกำลังใจ
ในการทำงานเป็นองค์ประกอบ
   
สนองตอบต่อสังคมที่หน่วยงานต้องปฏิบัติ คือ ด้านสภาพแวดล้อม และจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจเป็นองค์ประกอบ

     
ขอขอบคุณ http://www.thailandindustry.com
สืบค้นเมื่อวันที่  29/11/2561






       



วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

คุณภาพ



คุณภาพ หมายถึง การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยสินค้าหรือบริการนั้นสามารถสร้างความพอใจให้กับลูกค้าและมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสมได้เปรียบคู่แข่งขัน ลูกค้ามีความพึงพอใจ และยอมจ่ายตามราคาเพื่อซื้อความพอใจนั้น
คุณภาพ หมายถึง การดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการโดยคำนึงถึงการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม
สรุป ความหมายของคุณภาพตามที่มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย หมายถึง คุณลักษณะต่างๆทั้งหมดของสินค้าหรือบริการ ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการสร้างสนองต่อความต้องการ และเป็นไปตามความต้องการหรือเป็นไปตามที่กำหนดไว้ จนสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้


คุณภาพตามความหมาย คือคุณลักษณะของสินค้าและบริการที่สนองต่อความพึงพอใจของบุคคลตามที่ต้องการ ดังนั้นคุณลักษณะของคุณภาพจึงแยกออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
คุณภาพของผลิตภัณฑ์
คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ก็คือการดำเนินงานอย่างเป็นระบบซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางแผนและกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามที่กำหนด โดยสามารถพิจารณาคุณสมบัติสำคัญได้ 8 ด้าน ได้แก่
                  สมรรถนะ
          ลักษณะเฉพาะ
          ความเชื่อถือได้
          ความสอดคล้องตามที่กำหนด
          ความทนทาน
          ความสามารถในการให้บริการ
          ความสวยงาม
          การรับรู้คุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้า
คุณภาพของงานบริการ                    
ในส่วนของคุณภาพตามลักษณะคุณภาพของงานบริการประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ 9 ด้าน ดังนี้
         ความเชื่อถือได้
         การตอบสนองความต้องการ
         ความสามารถ
         การเข้าถึงได้
         ความสุภาพ
         การติดต่อสื่อสาร
         ความน่าเชื่อถือ
         ความปลอดภัย
         ความเข้าใจลูกค้า


   การแบ่งชนิดของคุณภาพก็คือระดับความเหมาะสม คุณภาพในการใช้งานและรูปร่างลักษณะ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่

           คุณภาพที่บอกกล่าว (Stated quality)  หมายถึง คุณภาพที่กำหนดขึ้นระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขายระดับคุณภาพ จะถูกกำหนดขึ้นจากการคาดหมายของผู้ซื้อ โดยที่ผู้ผลิตจะทำหน้าที่ผลิตให้เป็นไปตามสัญญา

         คุณภาพที่แท้จริง (Real quality)  หมายถึง คุณภาพที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เริ่มผลิตจนกระทั่งสินค้าหมดอายุ ระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะมีคุณภาพสูงเพียงใด ขึ้นอยู่กับการผลิต ที่เริ่มตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ ตลอดจนกระบวนการผลิตจะต้องทำให้ดีที่สุด
         คุณภาพที่โฆษณา (Advised quality)  หมายถึง คุณลักษณะต่างๆของผลิตภัณฑ์ที่ถูกกำหนดโดยผู้ผลิตหรือผู้ขาย เพื่ออ้างถึงสรรพคุณหรือ รับประกันคุณภาพให้กับลูกค้า ในเชิงการค้า
   คุณภาพจากประสบการณ์ (Experienced quality)  หมายถึง คุณภาพที่เกิดขึ้น จากประสบการณ์ของผู้ใช้สินค้าเอง คุณภาพจะดีไม่ดีอย่างไร ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ หากผู้ใช้นำไปใช้ได้ผลดี ก็จะบอกว่าสินค้านั้นดี หากไม่ดี ก็จะบอกว่าสินค้านั้นไม่ดี

   สำหรับคุณภาพ องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดคุณภาพก็คือ คน เครื่องจักร และวัตถุดิบ หากส่วนประกอบทั้ง 3 มีคุณภาพ ไม่บกพร่องและไม่มีความผันแปรก็จะทำให้กระบวนการต่างๆ มีประสิทธิภาพดังนั้นการควบคุมความผันแปรด้วยการเลือกบุคคลที่มีคุณภาพมีทักษะความรู้ เครื่องจักรทันสมัย และวัตถุดิบที่นำมาใช้นั้นดีก็จะส่งผลถึงการมีคุณภาพด้วย
ความเชื่อถือได้
การตอบสนองความต้องการ
ความสามารถ      
การเข้าถึงได้
ความสุภาพฃ
การติดต่อสื่อสาร
ความน่าเชื่อถือ
ความปลอดภัย
ความเข้าใจลูกค้า







                                    ขอขอบคุณ

            https://www.im2market.com/2017/11/05/4642
                            สืบค้นเมื่อ วันที่  21  พฤศจิกายน  2561