วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

😺😺การจัดการงานอาชีพ😺😺








การจัดการ หรือ Management หมายถึง กระบวนการทำงานหรือกิจกรรมที่กลุ่มบุคคลในองค์กร ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแนวทางที่กำหนดไว้ 5 ขั้นตอนประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน และการควบคุม


กระบวนการทำงานหรือการจัดการมีความสำคัญต่อองค์กรธุรกิจ เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อ ความสำเร็จที่จะทำให้เกิดผลกำไรและช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้ นอกจากนี้กระบวนการจัดการยังเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ต้องรู้จักนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เนื่องจากแต่ละ องค์กรมีปัจจัยความสำเร็จที่แตกต่างกัน


การวางแผน การวางแผนหรือ Planning หมายถึงการพิจารณากำหนดแนวทางการทำงานให้ บรรลุเป้าหมาย โดยเกิดจากการใช้ดุลพินิจคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อเป็นแนวทางการการทำงานในอนาคต
การจัดองค์การ การจัดองค์การหรือ Organizing หมายถึง การจัดระเบียบหรือโครงสร้างของการ ทำงานภายในองค์กรให้เป็นระบบระเบียบและอยู่ในส่วนประกอบที่เหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น
การบังคับบัญชาสั่งการ หรือ Commanding หมายถึง ภาระหน้าที่ของผู้บริหารในการใช้ความสามารถชักจูงหรือหว่านล้อมผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานตามคำสั่ง จนสามารถทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จได้
การประสานงาน หรือ Coordinating หมายถึง การจัดให้ทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรทำงานประสานสัมพันธ์สอดคล้องเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินงานราบรื่นและบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
การควบคุม หรือ Controlling หมายถึง กระบวนการทำงานเริ่มตั้งแต่การกำหนดมาตรฐาน การแก้ไขการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดจนการดำเนินงานตามแผน และการประเมินแผนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้


งานอาชีพ คือ งานที่ทำเป็นประจำ ก่อให้เกิดรายได้ เพื่อนำมาเลี้ยงตนเอง ครอบครัว และเพื่อซื้อจ่ายปัจจัยที่จำเป็นหรือต้องการ งานอาชีพมักจะต้องออกไปทำนอกบ้าน แต่บางอาชีพที่เป็นอาชีพอิสระสามารถทำงานอยู่กับบ้าน หรืออาจออกไปตามสถานที่ต่างๆตามความจำเป็น ต้องใช้ความคิด ความรอบคอบ และสติปัญญา ในการวางแผน จัดการและแก้ไขปัญหา งานอาชีพจึงจะดำเนินไปได้ด้วยดี


การทำมาหากินของคนไทยสมัยก่อน คือการทำไร่  ทำนา  ทอผ้า  ทำเครื่องจักสานไว้ใช้ที่เหลือก็จะจำหน่ายในชุมชน  คนไทยบางกลุ่มจะเป็นข้าราชการเมื่อบริษัทต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย ทำให้มีการจ้างงาน และมีอาชีพให้คนไทยเลือกทำมากขึ้น


1.  งานเกษตรกรรม เช่น  ปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์  การประมง
     2. งานอุตสาหกรรมเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความถนัดด้านช่างสาขาต่างๆ และเครื่อง   จักรเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆ
3. งานธุรกิจ เป็นงานด้านการค้าขาย  การทำบัญชี การจัดการธุรกิจ  การติดต่อสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. งานคหกรรม  เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาหาร เย็บปักถักร้อย  ตกแต่งบ้าน
   5.  งานศิลปกรรม  เป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน ความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปกรรมของไทย เช่น งานหัตถกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม


หากเปรียบเสาเข็มเป็นรากฐานของตึกสูง ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา ก็คือ พื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และจัดหาปัจจัย 4 อันเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคง ในการเลือกประกอบอาชีพนั้น ควรพิจารณาจากความถนัด ความสนใจ ความก้าวหน้าในอาชีพ เป็นอาชีพที่สุจริตถูกต้องตามกฎหมาย และควรเป็นงานที่ทำแล้วมีความสุข ได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอกับการดำเนินชีวิต และเลี้ยงครอบครัวได้อย่างเพียงพอ หากทุกคนเลือกอาชีพที่มความมั่นคงต่อชีวิต สังคมก็จะมีความเป็นอยู่ที่ดี เศรษฐกิจก็จะเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย



 อาชีพ หมายถึง การทำมาหากิน ทำธุรกิจ  ตามความชอบหรือความถนัด  ได้ค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือ เงินเดือน ประชาชนในประเทศที่สามารถมีอาชีพเป็นหลักถือได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาประเทศได้

        อาชีพที่มีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ สามารถแบ่งออกเป็น 8 ประเภท  คือ
               1.  อาชีพเกษตรกรรม (Agriculture) เป็นอาชีพหลักของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน ได้แก่ การทำ สวน การทำนา ทำไร่ การประมง การเลี้ยงสัตว์ และการป่าไม้
             2.  อาชีพเหมืองแร่ (Mineral) เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม การขุดเจาะนำเอาทรัพยากรธรรมชาติต่างๆมาใช้ เช่น ถ่านหิน  ดีบุก  น้ำมัน และปูนซีเมนต์ ฯลฯ
            3.  อาชีพอุตสาหกรรม (Manufacturing) เป็นการดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิตและบริการทั่วๆไปทั้งอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดใหญ่ แบ่งได้ดังนี้
                   3.1  อุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือ อุตสาหกรรมขนาดย่อม  เป็นการดำเนินกิจกรรมที่ใช้แรงงานสมาชิกในครอบครัว วัสดุที่ใช้ผลิตหาได้ในท้องถิ่น ผลิตัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
               4.  อาชีพก่อสร้าง (Construction) เป็นการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัย ถนน สะพาน เขื่อน ฯลฯ
               5.  อาชีพการพาณิชย์ (Commercial) เป็นการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวช้องกับการตลาด การจำหน่ายสินค้าปลีก และสินค้าส่ง
             6.  อาชีพการเงิน  (Financial)  การดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ธุรกิจ     ต่างๆคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ให้ความช่วยเหลือและการลงทุน  ได้แก่ ธนาคารต่างๆ
        7.  อาชีพบริการ (Services) เป็นการดำเนินกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในการอำนวยความสะดวกสบาย เป็นการขนส่ง  การสื่อสาร  การโรงแรม  การท่องเที่ยว  โรงพยาบาล  โรงภาพยนต์  ภัตตาคาร ร้านอาหาร  สถานบันเทิงต่างๆ ฯลฯ
          8.  อาชีพอื่นๆ  เป็นอาชีพที่นอกเหนือจากอาชีพดังกล่าวข้างต้น   ได้แก่ อาชีพอิสระต่างๆ เช่น แพทย์ ครู เภสัช  วิศวกร  สถาปนิก  จิตรกร  ประติมากร  เป็นต้น


 

 อาชีพธุรกิจที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน  สังคม  และประเทศชาติ  ทำให้เกิดกระบวนการผลิตสินค้าการบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ความต้องการเกิดขึ้นต่อๆไป  โดยไม่สิ้นสุดทำให้เกิดการผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการจึงเกิดการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภค เรียกว่าระบบคนกลาง  ระบบคนกลางได้แก่  พ่อค้าส่ง  พ่อค้าปลีก  ตัวแทนจำหน่าย  นายหน้า  เมื่อมีสินค้าเกี่ยวข้องจึงต้องมีระบบขนส่งและเกิดการจ้างงาน  ช่วยให้ประชาชนมีงานทำ  มีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น  สร้างรายได้ให้กับรัฐ  โดยประชาชนช่วยกันเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ
การที่ประชาชนมีอาชีพ และผลิตสินค้าที่มีคุณภาพจำนวนมากจึงต้องมีเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้ ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น